ช่วงนี้ อากาศของประเทศไทยเริ่มเย็นลงแล้ว ฤดูการท่องเที่ยวก็เริ่มต้นขึ้น
หน้าหนาวนี้ แดดจะแรงมาก แต่เราจะไม่ร้อน เพราะด้วยอากาศที่เย็น
บางครั้ง เราตากแดด โดยบังเอิญ แต่พอโดนแดด
ร่างกายเรามันอุ่น เราก็เลยไม่ได้
ใส่ใจอะไรมากมาย ดังนั้น ครีมกันแดด
จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราต้องทาทุกวัน
จนบางครั้ง มันอาจสำคัญมากกว่า เมคอัพต่าง ๆ
บนใบหน้าเสียอีก
แสงแดด สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น
ทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง
ทำให้เกิดผิวหนังไหม้ มีริ้วรอยก่อนวัย
และยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย
การป้องกันแสงแดดที่นิยมมาก ๆ ในปัจจุบันคือ
การใช้ครีมกันแดด (Sunscreens)
วันนี้ จึงขอรีวิว ครีมกันแดดอีกหนึ่งแบรนด์ที่น่าสนใจ
แต่ก่อนอื่น ต้องมาทำความรู้จักกับ UV กันก่อนนะคะ
และก็ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ึควบคู่กันไปในรีวิวนี้
ค่าการปกป้องแสงแดดจากรังสี UV
พลตรี นายแพทย์ กฤษฎา ดวงอุไร ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ว่า
ก่อนอื่นเราคงต้องเข้าใจถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์
กันแดดในการป้องกันรังสี UV ก่อน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปเราคงคุ้นเคยกับ "ค่า SPF"
ซึ่งย่อมาจาก Sun Protection Factor
หรือแปลเป็นไทยว่า ค่าการป้องกันแสงแดดจากรังสี UVB ซึ่งเข้าใจได้ง่ายๆ
คือ ถ้าเคยถูกแสงแดดแล้วผิวไหม้แดง ในเวลา 15 นาที
หากทาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มี SPF = 6 ก็จะปกป้องผิวได้ 6 เท่า
หรือผิวจะไหม้แดงในเวลา 90 นาที (6x15=90นาที)
ถ้าค่า SPF = 8 ผิวจะไหม้ในเวลา 2 ชั่วโมง (8x15=120 นาที)
แต่สำหรับการปกป้องผิวจากรังสี UVA นั้น ให้ดูที่
"ค่า PPD"คือ Persistent Pigment Darkening
ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดค่ากันแดดที่ป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการในการทำให้ผิวดูแก่
และสีคล้ำขึ้นนั่นเองพูดกันง่ายๆ คือ ถ้าทากันแดดที่มีค่า PPD10 ก็คือ
คุณสามารถทนแดดได้มากกว่าผิวที่ไม่ทา 10 เท่า แต่ในบางประเทศอย่างญี่ปุ่น
ก็ไม่ได้ใช้ค่า PPD แต่ว่าใช้ "ค่า PA"
คือ Protection Class UVA เป็นระดับการวัดค่าป้องกัน UVA ค่าสูงสูดในมาตรฐาน PA คือ PA+++
ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐาน PPD ค่า PA+++ คือ >8 ขึ้นไป ฉะนั้นหากต้องการปกป้องผิวจากรังสี UVA
ก็ควรหาผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า PPD สูงๆ มาใช้
ไม่ควรพิจารณาที่ค่า SPF เพียงอย่างเดียว เพราะค่า SPF เอาไว้วัดค่าการปกป้องรังสี UVB
ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวในระยะยาว
น้อยกว่า UVA ซึ่งอาจสังเกตได้ง่ายๆ คือ ถ้าเห็นตัวอักษร UVA นั่นแสดงว่าผลิตภัณฑ์กันแดด
ตัวนั้นสามารถป้องกันผิวจาก UVA ได้ดีระดับหนึ่งทีเดียว
ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ป้องกันรังสี UV ได้ดีและครอบคลุม ควรจะมีส่วนผสมของทั้ง
Chemical (Organic) และ Physical (Inorganic/Mineral)
Sunscreen เช่น Zinc Oxide, Titanium Dioxide (TiO2),Avobenzone
(Parsol 1789), Mexoryl SX, Mexoryl XL,Oxybenzone เป็นต้น
ซึ่งผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพกันUVA ได้ดี
ก็จะมีสารที่กล่าวแล้วข้างต้นผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปในสัดส่วนความเข้มข้นต่างๆ
ซึ่งให้ประสิทธิภาพการปกป้องรังสี UVAที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นจึงควรเลือกให้ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าการปกป้องทั้ง
รังสี UVB และ UVA สูงๆ และเหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง
ชื่อผลิตภัณฑ์ : UV FOUNDATION PHYSICAL SUNSCREEN SPF60 CREAM (BEIGE COLOUR)
ส่วนประกอบ :
Cyclopentasiloxane, aqua , zinc oxide, titanium dioxide,talc, dimethicone crosspolymer,
isodecy1 isononanoate, propylene glycol,PEG/PPG-18/18 dimethicone, PEG/PPG-20/15 dimethicone,
dimethicone/vinyldimethicone crosspolymer, PEG-10 dimethicone, C9-15 Fluoroalcohol phosphate,
disodium EDTA, methicone, Triethanolamine, ethylhexylglycerin, carbomer,aluminum hydroxide,
CI 77499, disodium stearoyl glutamate
Titanium dioxide มีหน้าที่ปกป้องแสงแดดโดยเป็นตัวที่สะท้อนรังสียูวี ทั้ง UVA และ UVB
เวลาที่แสงตกกระทบกับผิวหน้าจะสะท้อนออกไป คล้าย ๆ การทำงานของกระจกเงา
เวลาส่องกับแสงแดดคะ โดยจะไม่ทำการดูดซึมแสงลงไปสู่ผิว
Silicone elastomer มีหน้าที่ทำให้ผิวชุ่มชื้นและเคลือบผิวไว้ โดยไม่เหนียวเหนอะหนะ
และยังมีคุณสมบัติเป็น Oil absorber ควบคุมความมันบนใบหน้า
Zine oxide ป้องกันแสงแดดโดยเป็นตัวสะท้อนรังสียูวีที่ตกกระทบกับผิวให้สะท้อนออกไป
Jojoba oil ช่วยบำรุงและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว
Vitamin E สารบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น พร้อมคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยในการลดลอยแผลเป็น ชะละริ้วรอยก่อนวัย และจุดด่างดำ
Vitamin C ลดการสร้างเม็ดสีผิว ชะลอการเสื่อมสภาพของผิวและเร่งการสร้างคอลลาเจน
ทำให้ผิวดูขาว ใส และกระชับขึ้น
ทางแบรนด์บอกว่า : ครีมกันแดด Physical sunscreen ช่วยปกป้องผิวจากUVA/UVB ได้ถึง 60 เท่า
ปราศจากสารกันแดดเคมีทำร้ายผิวหนังพร้อมวิตามินอีลดการระคายเคือง และช่วยต้านอนุมูลอิสระ
วิธีใช้ : ทาก่อนเผชิญแสงแดด (ไม่ต้องรอ 20 นาทีสามารถเผชิญกับแสงแดดได้เลย)
ถ้าคนที่แต่งหน้า ทากันแดดตัวนี้ก่อนลงลองพื้น นะคะ
หรือทา เป็นขั้นตอนสุดท้ายหลังจากลงครีมบำรุงผิวเสร็จแล้ว
เนื้อกันแดด : สีเนื้อ (BEIGE COLOUR) มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เพราะมีส่วนผสมของน้ำหอม
ทดสอบความมัน : ลองทดสอบด้วยกระดาษซับมันที่ทำจากเยื่อไผ่
เห็นความมันเล็กน้อย แต่พอทาที่หน้ากลับไม่เห็นความมันเลย
สรุปครีมกันแดดตัวนี้ : อั้มว่า เนื้อครีมแบบนี้ พอทาลงไป มันเหมือน เมคอัพ เบส
เลยคะ ทำให้ทาแป้งได้ง่ายขึ้น ไม่ทิ้งความมันบนใบหน้า เหมือนเป็นกันแดด
ที่ผสมพวกบีบีครีม หรือ รองพื้น ทาแล้วผิวเนียนขึ้น แห้งไปกับผิว
เหมือนมีแป้งผสมในครีมด้วย หรือจะพูดง่าย ๆ
รู้สึกเหมือน กันแดดมัน ผสมรองพื้น กับ แป้ง
เพราะทาแล้วเหมือนเนื้อครีมมันเป็นแป้ง
เนื้อครีมละเอียด ซึมซาบสู่ผิวได้เร็วและก็
ช่วงปกปิดริ้วรอยพวกจุดด่างดำ ได้นิดหน่อย
เนื้อครีมเกลี่ยง่าย แห้งไว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ทาแล้วหน้าแอบขาวขึ้น 1 Step
โดยรวมประทับใจกับกันแดดตัวนี้ เพราะมีส่วนผสมที่ดี
สามารถกันแดดได้ตลอดช่วงค่าของ UV ทั้ง UVA - UVB
และยังมีส่วนผสมของ วิตามินซี และ วิตามินอี
ช่วยในการบำรุงผิวอีกด้วย
วิธีการปกป้องผิวจากแสงแดด ที่ร้อนเป็นบ้า ของประเทศไทย :
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถปกป้องผิวได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
ผิวแพ้ง่ายหรือไวต่อแดด เช่น ผิวหลังการทำเลเซอร์ทรีตเมนท์ การขัดลอกหน้า ควรเลือกผลิตภัณฑ์กันแดด
สำหรับผิวบอบบางหรือแพ้ง่ายโดยเฉพาะ
ทาผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่พอดี คือ ประมาณ 1 ข้อนิ้ว สำหรับผิวหน้า และประมาณ 30 กรัม
สำหรับผิวกาย ก่อนออกแดดประมาณ 15-20 นาที
การพักผ่อนตามชายทะเล ควรทาผลิตภัณฑ์กันแดดเพิ่มทุก 3 ชั่วโมง เนื่องจากหาดทรายสามารถสะท้อนแสงแดดและรังสี
ยูวีได้ดี จึงเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น และควรเลือกเป็นแบบกันน้ำได้
การทาผลิตภัณฑ์กันแดด ควรทาบางๆ และเกลี่ยให้ทั่วๆ ไม่ควร ทาย้อนขึ้นลง เพราะจะทำให้ครีมหลุดลอกได้ง่าย
และควรทาซ้ำ หลังจากเที่ยง หรือหลังจากที่มีเหงื่อออกมากๆ
เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีส่วนผสมที่เป็น เคมีคอล และฟิสิกส์คอล เพื่อการปกป้องผิวจากอันตรายของรังสียูวี
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
หลังจากออกแดดแล้ว ควรล้างผิวให้สะอาด แล้วทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ หรือครีมบำรุงทันที
สารกันแดดที่พบในปัจจุบันมีมากกว่า 30 ชนิด แต่ที่นิยมใช้ตามท้องตลาดมีอยู่
ประมาณ 15-20 ชนิดเท่านั้น จึงขอเลือกเฉพาะตัวที่พบได้บ่อย
นิยมใช้ น่าสนใจ ซึ่งอยู่ในตารางด้านล่างนี้ โดยจะแสดงชื่อมาตรฐานของสาร
(International Nomenclature of Cosmetic Ingredients: INCI)
และให้รายละเอียดคร่าวๆว่าสามารถป้องกันรังสีช่วงไหนได้บ้าง
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://www.chemtrack.org
ก่อนใช้จริง เราควรตรวจเลขที่ อย. กันก่อน เพื่อความปลอดภัย
ไม่ว่าจะเป็นครีม ยี่ห้อไหนก็ตาม
- 02:51
- 0 Comments